เมนู

แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด
อาบัติเหล่านี้ของพวกเราเว้นอาบัติที่มีโทษหนัก
เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่าม
กลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.


[630] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุ
ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา
ว่าดังนี้.

ญัตติทุติยกรรมวาจา


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด
ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้
ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่
กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับ
กันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อ
ความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดง
อาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์
ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่อง
ด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อ
ประโยชน์แก่ตน นี้เป็นญัตติ